Pages

Saturday, May 23, 2020

0890 : Crypto Playground 4


สวัสดีครับ,
พบกันอีกครั้งกับ Crypto Playground นะครับ
Project นี้ผ่านมา 18 วันแล้ว
มาติดตามดูสถานการณ์ Port กันบ้างว่าเป็นยังไง

จากทุนตั้งต้น 1,000 บาท
Equity 995.05 บาท
Draw down  0.49%
Maximum Draw down ยังคงเป็นตัวเลขเดิมครับ คือ 1.1%
Free Cash Flow 4.79 บาท (คิดเป็น 0.48%)
Activity 6 Transactions

Dash Board จากแอดมวย ทีมหลังบ้าน ก็จะหน้าตาประมาณนี้ครับ



การเทรดเป็นทีม หากมีการจัดการข้อมูลที่ดี
ก็ทำให้เราได้เห็นการเทรดในหลายๆแง่มุม
จาก Activities ของเพื่อนๆในทีมนั่นเองครับ
ทำไมคนนี้เทรดได้หลายรอบมากๆ
หรือ ทำไมอีกคนเก็บระยะทำกำไรได้ไกล
อีกคนทำไมเค้าไม่ค่อยทำอะไร เค้ารอคอยอะไรอยู่
ทำให้เราได้ย้อนคิดว่า เรามองข้ามอะไรไปหรือเปล่าในเกมที่เราเล่นอยู่


ส่วนตัวผมวีคนี้ก็ลองใช้วิชา Copy Ninja ลอก Order เพื่อนดู 555
เพราะเราทำ Trade Log ใน Google Spread Sheet เดียวกัน
ทำให้เราสามารถเห็นได้ว่าเพื่อนๆเราทำอะไรอยู่
คนไหน Performance ดี ตรูก๊อบจังหวะเข้าออกซะเลย
แต่ก็เป็นการ Bet ที่ไม่ได้เดิมพันมากมายอะไร
เพราะผมใส่เงินกับ Position นี้แค่ 20 บาท (2% ของทุน)
ก็เก็บระยะจาก 6.16 ไป TP ที่ 6.26 ตามพี่เค้าเลยครับ

ส่วน Core Model ที่สร้าง Free Cash Flow ได้สม่ำเสมอ ก็ทำหน้าที่ของมันไป
แยกกันออกให้ชัดว่าอันไหนคือ Core Model อันไหนคือ Betting


ในการเทรดแรกสุด ผมให้ความสำคัญ 3 เรื่อง คือ
1. ไม่เจ๊ง
2. Free Cash Flow ที่สม่ำเสมอ
3. Draw down ต้องไม่สูงมากนัก

ซึ่งตรงนี้ ก็แล้วจริตของแต่ละคน ว่าแสวงหาอะไรในตลาดครับ
เพราะกำไรในตลาดก็มีหลายรูปแบบ
เป็นเงิน (Cap gain)
เป็น Asset (จำนวนหุ้น , จำนวน Coin , จำนวนสัญญา)
เป็น Cash Flow (Free Cash Flow , เงินปันผล)


การเทรด Project นี้ ถามว่ากำไรที่เป็นตัวเงินมันคุ้มไหม
ก็จะไปคุ้มอะไรเล่า กับเงิน 1,000 บาท
มันไม่คุ้มหรอก แค่เดินไปเปิดคอม เปิดแอร์ในห้องเทรด ก็ไม่คุ้มแล้ว

แต่สิ่งที่ได้คือ Exp. ครับ ทั้งจากการเทรดของตัวเอง
และการสังเกตุเพื่อนๆใน Project

Exp. ที่เราได้มา ก็สามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต
หากเราสามารถบริหารเงิน 1,000 ให้มีประสิทธิภาพได้
เงิน 1,000,000 ก็บริหารแบบเดียวกับเงิน 1,000 บาทนั่นแหละครับ
แค่เติมศูนย์ไปอีก 3 ตัวเท่านั้นเอง (อย่าลืมด้วยเรื่องสภาพคล่อง กับ Capacity ของตลาดด้วยนะ)


ไว้พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ.

Saturday, May 16, 2020

0889 : Crypto Playground 3


 

 
อัพเดท Port Project Crypto Playground ที่เทรด Product XRP กันหน่อยนะครับ
แต่ละสัปดาห์ก็จะมา Review Port และแผนการเทรด ลง FB Page และใน Blog นี้
เนื่องจากเป็น Agreement ที่ให้ไว้กับเพื่อนที่ริเริ่ม Project Crypto Playground ครับ

สถานการณ์ Port ตอนนี้ (จากทุน Start เริ่มต้นที่ 1,000 บาทนะครับ)
Equity 994.01 บาท
Draw down  0.60%
Maximum Draw down 1.1%
Free Cash Flow 3.62 บาท (คิดเป็น 0.36%)
Activity 4 Transactions
 
การเทรดที่ผ่านมา ใช้ Zone Trading ธรรมด๊า ธรรมดา ในการยึดครองพื้นที่ครับ
ทำให้ตอนนี้ผมยึดพื้นที่กรอบบนได้ที่ราคา XRP 7.26 
ส่วนกรอบล่างก็มี Cash Reserve ไว้เทรดได้จนถึงโซน 3.60 
(กรณีไหลยาวลงโคตรพ่อโคตรแม่อ่ะนะ 555)
 
หากมองเป็นเกม...
ตอนนี้ก็จะเหลือ HP 850 จาก Max HP 1,000 (ยิงไป 3 นัด นัดละ 50 บาท)
SP 3.62 (SP คือ Free Cash Flow ที่เราทำได้ครับ ซึ่งจะเอามาต่อยอดใช้ Skill พิเศษเพิ่มเติม)
การใช้ SP ขั้นต่ำก็ 10 Points เช่นกัน
เพราะงั้นถ้า Free Cash Flow เรายังไม่ถึง 10 บาท เราก็ใช้ท่าไม้ตายยังไม่ได้จ้า

ส่วน Skill พื้นฐานที่ผมเลือกไว้คือ หมัดไคโอ (Kaioken) ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องใช้
เพราะ Draw down ยังไม่ถึง 10 บาท และ XRP Price ยังอยู่ใต้เส้น Moving Average อยู่
 
 
 
สุดท้าย... สิ่งที่คิดว่าต้องมี หากจะเทรดแนวทางนี้ คือ
1. ความไม่คาดหวัง
หากไม่คาดหวังว่าจะต้องกำไรเร็วๆ แรงๆ ทะลุฟ้า 
จะทำให้เราสามารถเทรดตาม Process ตามแผนที่วางไว้ได้
 
2. ความใจเย็น
ตลาดมีช่วงเวลาขึ้นลง กระชาก เนิบๆ ของมัน
ถ้าใจของเรา ไปไวกว่าราคา ก็จะอยู่กับมันไม่ได้
จนทำให้บางทีก็พยายามทำอะไรสักอย่างกับพอร์ต ซึ่งอาจจะไม่เกิดผลดีก็ได้
ช่วงไหนที่ไม่ใช่เวลาของมัน การไม่เทรดก็คือการเทรดอย่างหนึ่ง
 
3. ความใส่ใจ
ใส่ใจใน Equity ในการทำระบบบัญชี หลังบ้าน
รู้ว่าต้องดูข้อมูลอะไร ที่เป็นประโยชน์ต่อการเทรด
จะทำให้เราเทรดบนพื้นฐานของความจริงได้ดีครับ
 
 
แล้วพบกันใหม่ในการอัพเดทครั้งต่อไปนะคร้าบบบ

Monday, May 11, 2020

0888 : Crypto Playground 2


สวัสดีครับ,
วันนี้จะมาอัพเดทสถานการณ์ของพอร์ตและแผนการเทรด XRP คร่าวๆครับ
.
.
1. #CryptoPlayground เริ่มต้นเมื่อวันที่ 5 เดือน 5
(เข้ เลขสวย เพิ่งเห็นว่าเริ่ม 5/5/2020 ถถถ)  นับถึงวันนี้ก็ 5 วันแระ
.
สถานะตอนนี้ก็เข้าซื้อ XRP เก็บไป 3 ครั้ง นัดละ 50 บาท
เท่ากับใช้ทุนไป 15% ของเงินทุนตั้งต้น 1,000 บาท
โดยได้ของที่ราคา 7.04 / 6.78 และ 6.55 (รับเละช้อนหักเลย 5555) ตอนนี้ก็โดน Drawdown อยู่
ส่วนการสร้าง Free Cash Flow ยังไม่ได้จังหวะ Take Profit เลยสักนัด (สงสัยจะตั้งไว้ไกลไป)
.
.
2. ในสัปดาห์หน้า แผนการเทรดก็คือ ทำตามแผน (เอ๊ะ ยังไง ไม่ได้กวนตีนนะครับ 555)
แผนก็คือเข้ายึดครองพื้นที่ตามที่ Volatility มันจะพาเราไปถึง
ถ้าราคาเด้งก็ Take Profit เก็บ Free Cash Flow
ถ้าโดนทุบต่อก็ยึดครอบพื้นที่ด้านล่างลงไปเรื่อยๆ
เพราะเรามีทุนให้ยึดครองพื้นที่ได้อีก 17 Zone
.
.
3. แผนใช้ Skill หมัดไคโอเค็น
(คือ การใช้ Leverage ส่วนทุนเกิน MM ที่วางแผนไว้
ซึ่งถือเป็นการสร้างภาระให้โครงหลักของ Model
เหมือนกับการใช้หมัดไคโอเค็น ที่ทำให้ร่างกายต้องรับภาระหนักขึ้น)
.
ตรงนี้จะเป็นการ Re-Balance Equity ที่มัน Drawdown ลงมา
เช่น ถ้าราคามันดึง DD ลงมาถึงจุดที่ Equity ติดลบ -10 บาท
(ณ ตอนที่เขียนอยู่มันติดลบประมาณ 8 บาท)
ก็จะเข้า Buy กระสุนนัดละ 10 บาท แล้ว TP สั้นลง เพื่อเก็บรอบเพิ่มขึ้น
(ถ้าถามว่าทำไมต้องรอ 10 บาท ก็เพราะ Bitkub มันต่ำสุด 10 บาทมั๊ง ถ้าผมจำไม่ผิดนะ 555)
.
ส่วนจังหวะเข้าเด๋วรอดูมันยืนเหนือ Moving Average อีกที
(ถ้ามันยืนแล้ว Equity ติดลบไม่ถึง 10 บาท ก็แล้วกันไป ไม่จำเป็นต้องใช้หมัดไคโอ)
.

.
.
4. โครงหลักของ Model 1,000 บาท นี้ก็เป็นอะไรที่ Simple ครับ
แรกสุดคือ วางกรอบการเทรด
ณ จุดนี้ผมใช้กรอบ High – Low รอบการวิ่งล่าสุดของ XRP
ตีไว้กลมๆที่ 3 บาท – 11   บาท
.

.
ถ้าเล่นนัดละ 50 บาท ดูจาก ATR คร่าวๆ ก็ใช้ระยะห่างโซนละประมาณ 0.20 บาท
(ตอนเทรดจริงส่วนใหญ่ระยะจะกว้างกว่าที่วางแผนอยู่ละ)
จะต้องใช้เงินทุน 2,000 บาท หรือกระสุน 40 นัด
เพราะงั้นเงินทุนเราเลยไม่เพียงพอ จึงค่อยๆทำการซื้อสะสมที่ละนัด
เพื่อหาพื้นที่หรือกรอบการเล่นที่แท้จริงก่อน
โดยให้ Volatile ของตลาดมันเป็นคนพาเราไปเปิดแมพ War Zone ที่แท้ทรู
.
อีกฝั่งในส่วนของ Free Cash Flow ที่ทำได้
ก็เอามาจัดสรรให้มีเงินทุนเต็มจำนวนของ Full Model ต่อไป
.

.
.
5. ก็ประมาณนี้แหละครับ ที่เหลือก็ Plan your trade & Trade your plan #ยังไงก็สู้ๆนะครับ
.
.

Sunday, May 10, 2020

0887 : Crypto Playground 1


     #Crypto Playground
Project นี้ผมกับเพื่อนๆ รวมตัวกันเทรด 5 คนครับ 
แนวทางก็คือ ใส่เงินทุนตั้งต้นคนละ 1,000 บาท 
เทรดตามกลยุทธ์ของตัวเองได้เลย ไม่มีข้อจำกัด
โดยเลือก Playground เป็น Product XRP ใน Bitkub ครับ 
แล้วก็จะมาบันทึก Trade Log ทำบัญชีกันใน Google Spread Sheet 
ซึ่งจะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์กันในภายหลัง
.
.
ส่วนตัวผมแล้ว มอง Project นี้เป็นเกมออนไลน์ 
ที่เล่นกับเพื่อนๆ กำไรที่ได้มาก็เหมือนเป็น Exp. นั่นเองครับ
.
ผมแบ่ง Class ของเกมจากทุน 1,000 บาท ประมาณนี้
1. Novice เงินทุนตั้งต้น 1,000 บาท
.
2. Merchant เปลี่ยนอาชีพพ่อค้า เมื่อ Exp. 
(หรือกำไร 1,000 บาท = Alpha ได้ทุนคืนมาครบ)
.
3. Blacksmith เปลี่ยนคลาส 2 Exp. 10,000 
ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ท่าไม้ตายที่มีพลังโจมตีรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ครับ
.
ก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะเปลี่ยนคลาสนะครับ 
.
จาก Stat พอร์ตอื่นๆของตัวผมเองที่เทรด XRP อยู่ระยะเวลา 4 เดือนพอดี (120 วัน) 
สามารถ Gen Cash Flow ได้ 14% ถ้าทำเหมือนเดิมที่เคยทำมา 
ก็จะน๊านนานเลยแหละกว่าจะ Alpha
.
แต่หากได้แชร์ไอเดียกับเพื่อนๆ
ก็อาจจะเจออะไรใหม่ได้ทำให้ไปได้ไวขึ้นก็ได้ครับ
.
.
ยังไงก็ฝากติดตามกันด้วยนะครับ
.
.

Friday, May 8, 2020

0886 : Hedging Inflation From Oil


ช่วงนี้ราคาน้ำมันลงมาเยอะ
อย่างรถผมเติม เดิมราคาอยู่แถวๆ 24-26 บาท
มาช่วงนี้เหลือ 17-18 บาท


ปกติผมจะจัดการเงินส่วนตัวโดยแบ่งเป็นงบประมาณตามแต่ละหมวดหมู่การใช้จ่าย
อย่างหมวดค่าเดินทาง ก็จะมี ค่าน้ำมัน + ค่าเติมเงินบัตร Easy Pass + ค่าที่จอดรถ
รวมๆก็กำหนดไว้เดือนละ 5,000 บาท (ขับแบบเต็มที่ สบายๆ)
เหลือก็หยอดกระปุกออมสินไว้ 555


พอราคาน้ำมันลงมาก็จะมีเงินเหลือจากงบค่าเดินทางมากกว่าเดิม
ก็เลยมาคิดว่า เราจะสร้างประโยชน์จากราคาน้ำมันที่มันปรับตัวลงมายังไงดี
เพราะผมคงใช้น้ำมันไปอีกหลายปี รถยนต์คันที่ใช้ ก็ซื้อมาได้ 2-3 ปีอยู่เลย
และคิดว่าเราคงยังไม่ได้ใช้รถไฟฟ้าในเร็ววันนี้อ่ะ (หมายถึง 5 ปีจากนี้)


ผมเลยมาดูๆกองทุนน้ำมันดูเพื่อซื้อเก็บไว้ใช้ในอนาคต
ส่วนตัวที่ดูไว้ (บวกกะลอกการบ้านเพื่อนในกลุ่ม) มีอยู่ 2 กองที่น่าสนใจ คือ
1. KT Oil ของ KTAM
2. K-Oil ของ KASSET
สุดท้ายก็เลือก K-Oil เพราะกองใหญ่กว่า (1,900 กว่าล้าน)
KT Oil มี Asset ประมาณ 300 กว่าล้าน และค่าใช้จ่ายกองสูงกว่า
เลยเลือก K-Oil ไป แล้วก็มีเก็บพวกหุ้นน้ำมันนิดหน่อย


วิธีการลงทุนก็ไม่มีอะไรมาก
จากเงินค่าเดินทางที่เหลือแต่ละเดือน ก็โอนเข้าไปซื้อกองทุน
จดบัญชีลง Excel ไว้ พวกจำนวนหน่วยลงทุน ราคาซื้อ
ถ้ากำไรก็ขาย Re-Balance ออกไปเป็นเงินสดหรือ MMF (Money Market Fund) บ้าง
หรือหากโดนทุบลงมา ก็รับคืน + ซื้อเพิ่มจากเงินที่เหลือๆในเดือนใหม่
 

ทีนี้การใช้จ่าย การเติมน้ำมันของเราก็จะมีการ Hedging แระ คือ
หากน้ำมันราคาพุ่งขึ้น ค่าใช้จ่ายประจำเดือนก็จะสูงตาม
แต่อีกฝั่งเราก็จะกำไรจากกองทุน

ถ้าราคาน้ำมันลง ก็จะได้เติมน้ำมันถูก
เงินเหลือเยอะขึ้น เอามาซื้อกองทุนน้ำมันต่อ

หากราคาน้ำมันแช่โซนนี้นานๆ
เงินที่ใส่ไปในกองทุนก็จะเป็นการ Lock ต้นทุนน้ำมัน
ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไปได้ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ
ก็ต้องมาดูกันว่าจะสามารถ Build Port จนยืด Time ไปสักเท่าไหร่ 555

 
การซื้อกองทุนน้ำมัน เป็นการซื้อด้วยเงินเต็มจำนวน
ซึ่งก็ปลอดภัยกว่าการใช้สัญญา Future หรือ CFD ในโบรค Forex
เนื่องจากพวกโบรคเหล่านี้มีลูกเล่นเยอะพอดู
บางจ้าวบอก Swap ฟรี วันดีคืนดีมาคิด Swap ย้อนหลัง
บางทีก็ปรับ Position Size ขั้นต่ำ จากที่เคยให้เทรด 0.01 lotได้
วันดีคืนดีมาบอกว่า มึงต้องเทรดขั้นต่ำ 1 lot นะจ๊ะ (อ่าว เห้ย ไม่ได้ทันได้เตรียมใจ)
บ้างก็ให้หยุดเทรด ถอด Product ออกเสียดื้อๆเลย
นอกเหนือจากนั้นก็ปลอดภัยจากความโลภของตรูเองนี่แหละ
บางทีก็อดใจจะใช้ Leverage เสียไม่ได้ 555


การ Re-Balance ในกองทุนน้ำมัน
ถ้า Build Port ให้ใหญ่ขึ้น
ก็จะเหมือนเรามีปั้มน้ำมันเล็กๆไว้ Generate น้ำมันของเราเองนั่นแล
 


Background photo created by jannoon028 - www.freepik.com

Friday, May 1, 2020

0885 : Re-Balancing Process 101


สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงการ Re-Balancing นะครับ
เพราะช่วงนี้มีหลายๆคนส่งคำถามหลังไมค์เข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้
เลยขอมาเขียนตอบตรงนี้ทีเดียวเลยแล้วกันนะครับ
 

 

การ Re-Balancing คือการปรับพอร์ตของเราให้อยู่ในสัดส่วนที่เราวางแผนไว้
เช่นเราอาจจะวางแผนว่าจะถือครอง เงินสด 50% และ Asset A 50%
สมมติที่ทุน 1,000,000 บาท แบ่งเป็น
1. เงินสด 500,000 บาท
2. Asset A จำนวน 50,000 Unit ที่ราคา 10 บาท / Unit มูลค่ารวมเท่ากับ 500,000 บาท ละกัน)

เมื่อราคาของ Asset A มันขยับไปทางใดทางหนึ่ง ทำให้มูลค่าเปลี่ยนไป
สมมติ หากราคา Asset A วิ่งขึ้นเป็น 11 บาท มูลค่าเพิ่มเป็น 550,000 บาท
พอร์ตรวมของเราจะกลายเป็น 1,050,000 บาท (ตีเป็น 100% ใหม่อีกรอบ)
จาก เงินสด 500,000 บาท (47.62%) Asset A 550,000 บาท (52.38%)

หากเราจะ Re-Balancing กลับไปที่ เงินสด 50% + Asset A 50% อีกรอบนั้น
ก็ต้องปรับพอร์ตด้วยการขาย Asset A ออกให้ได้เงิน 25,000 บาท
(ขายที่ราคา 11 บาท มูลค่า 25,000 บาท ก็เท่ากับประมาณ 2,273 Unit)
แล้วเราก็จะมี เงินสด 525,000 บาท (50%) + Asset A 525,000 บาท


ทีนี้หาก Asset A โดนทุบบ้าง สมมติ ราคาลงจาก 11 บาท เหลือ 9.43
มูลค่า Asset A ในพอร์ตเรา ลดลงจาก 525,000 บาท เหลือ 450,000 บาทล่ะ จะทำอย่างไร
ก็มาดูที่สัดส่วนของ เงินสด กะ Asset A ก่อนว่าเป็นอย่างไร
เงินสด 525,000 บาท = 53.85%
Asset A มูลค่า 450,000 บาท = 46.15%
มูลค่าพอร์ตรวม = 975,000 บาท

การจะ Re-Balancing ก็จะปรับโดยการเอาเงินสดไปซื้อ Asset A เติมเข้าไปให้กลายเป็น 50 : 50
พอร์ตรวม 975,000 บาท ที่ 50 : 50 จะเท่ากับต้องมีเงินสด : Asset A อย่างละ 487,500 บาท
เพราะงั้นเราจะต้องแบ่งเงินสดไปซื้อ Asset A จำนวน 37,500 บาท
(ปรับจาก 525,000 - 487,500 = 37,500 บาท)
ที่ราคา Asset A 9.43 บาท / Unit เงิน 37,500 บาท จะซื้อได้ราว 3,976 Unit
พอร์ตเราก็จะกลายเป็น เงินสด 487,500 บาท
Asset A 51,703 Unit x ราคา 9.43 บาท มูลค่าจะเท่ากับ 487,559 บาท (เกินไป 59 บาท 555)
โดยที่เราจะมี Unit เพิ่มจากจุดเริ่มต้น 1,703 Unit (แรกสุดเรา Start ที่ 50,000 Unit)

เมื่อราคา Asset A มัน Move ไปทางไหน เราก็คอยปรับพอร์ตตามไปเรื่อยๆ
ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราสามารถวางแผนล่วงหน้าได้
ราคาปรับตัวขึ้น เราจะทำอะไร
ราคาโดนทุบ เราจะรับมืออย่างไร


จังหวะการปรับพอร์ต
ส่วนนี้เราอาจจะกำหนดจากการเพิ่มลดของมูลค่า Asset ก็ได้
เช่น มูลค่าบวก 5% , 10% , 20% เราจะปรับพอร์ตทีนึง
หรือ อาจจะเอาเครื่องมือทางเทคนิคคอล มาใช้หาจังหวะในการ Re-Balancing ก็ไม่มีใครว่า
การใช้ EMA , MACD , RSI , STO ใน Time Frame ต่างๆ

สมมติว่า เราวางแผนจะ Re-Balancing ตาม EMA
ถ้า EMA มัน Cross กับ Price ที
เราก็มาดูสัดส่วนพอร์ตเราทีนึงว่าเราจะต้องปรับเงินสดกับ Asset อย่างไร เท่าไหร่บ้าง


สิ่งสำคัญของการ Re-Balancing คือ
1. ต้องเลือก Asset ให้ดี เพราะเราจะอยู่กับมันนาน
2. มีวินัย ทำตามแผน ไม่โลภ หรือ กลัว จนไม่กล้า Action ตามแผนที่วางไว้
3. ทำบัญชีให้ดี ไม่งั้น งงตายยย
4. ออกแบบแผนการ Re-Balancing ให้เหมาะสมกับกับสิ่งที่เรามี  (หน้าตัก / เวลาชีวิต / Life Style / ความรู้ / พฤติกรรมของ Product ที่ลงทุน) เช่น หากไม่ค่อยมีเวลาก็อย่าไปพยายาม Re-Balancing ให้มันถี่มากนัก หรือ ตั้งเป้า Re-Balancing ไว้ไกลเว่อร์ๆ จนไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของตัว Product ไรงี้


จริงๆมันมีการ Re-Balancing อีกหลายแบบนะครับ
ที่เขียนไปข้างบนคือ สะสม Asset เพิ่ม (เพิ่มจำนวน Unit)

ส่วนแบบอื่นๆก็เช่น
- ไม่เพิ่ม Unit แต่สร้าง Free Cash Flow
- Re-Balancing แบบกำหนดสัดส่วน หรือ หลายๆ Asset เช่น
* เงินสด 40 : Asset 60
** เงินสด 30 : Asset A 20 : Asset B 20 : Asset C 20
*** ฯลฯ มันแตกไปได้หลายอย่างมาก แล้วแต่เราออกแบบครับ 555
แต่ที่สำคัญ คือ เราต้องสร้างระบบบัญชีหลังบ้านให้ดี และวางแผนให้ชัดแค่นั้นเอง
พวกแตกแขนงออกไปแบบอื่นๆนี่ไว้โอกาสหน้าจะมาเขียนต่อครับ


ส่วนวันนี้ลาไปก่อนครับ โอกาสหน้าพบกันใหม่
ขอให้ทุกท่านอยู่รอดปลอดภัยในช่วงวิกฤติ Covid-19 นี้
ทั้งด้านสุขภาพและการเงินในกระเป๋านะคร้าบบบ


ขอบคุณภาพประกอบจาก People photo created by freepik - www.freepik.com ครับ