Pages

Saturday, March 9, 2019

0828 : อย่ามองข้ามเรื่องพื้นฐาน

 
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่องการวางแผนการเงินส่วนบุคคลให้กับกรมบังคับคดี จ.นนทบุรี มาครับ เค้าให้โจทย์มาเป็นหัวข้อ "สร้างชีวิต สร้างสุข สร้างวินัยทางการเงิน" กับ "หนทางห่างไกลหนี้"

ตอนแรกก็กังวลเหมือนกันกลัวว่าจะเตรียมตัวบรรยายแล้วไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เอาเข้าจริงพอไปถึงก็ติด Stun เหมือนกัน เพราะคนที่มานั่งฟังส่วนใหญ่อายุ 50+ ละ แต่ก็มีคนวัยเริ่มต้นทำงานด้วยบางส่วน เราก็บอกกับตัวเองว่า ไม่มีอะไรที่ต้องกลัว เราบรรยายจากใจ ไป Out Here อยู่ตรงนั้น และ Dance ไปกับสถานการณ์ ส่งคุณค่าเต็มที่ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

การบรรยายก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน เฮฮา มาก พอจบงานก็รู้สึกว่าเติมเต็ม และมีความสุข มีคนเดินมาหาหลังงานบอกกับผมว่า "ขอบคุณ ได้ประโยชน์มาก จะเอาไปใช้ในชีวิต" เรานี่แบบ เออ... มันได้ผลโว้ย สิ่งที่เราทำ มันส่งต่อถึงคนได้!


สิ่งที่ผมเอาไปบรรยาย ก็การเงินส่วนบุคคลพื้นฐาน เลย สรุปคร่าวๆมาให้ก็ประมาณนี้ครับ

1. การกลับมารู้จักตัวเอง ผ่านงบการเงินส่วนบุคคล
- งบรายรับ-รายจ่าย
- งบแสดงฐานะทางการเงิน
ว่าปัจจุบันเราอยู่ ณ จุดไหนของชีวิต
สภาพคล่องเป็นอย่างไร
ออมเงินได้กี่ % ของรายได้
ทรัพย์สิน มีอะไรบ้าง มัน Generate รายได้ให้เท่าไหร่ อย่างไร
หนี้สินล่ะ อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ ผ่อนชำระต่องวดมากน้อยแค่ไหน


2. ให้หัดทำ ประมาณการงบรายรับ - รายจ่าย ล่วงหน้า
เริ่มจากสมการ "รายได้ - เงินออม = รายจ่าย"
ให้ Forecast ค่าใช้จ่ายก้อนเดียวที่มันจะเกิดออกมาให้ได้มากที่สุด เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเทอมลูก ค่าเปลี่ยนยางรถยนต์ ฯลฯ อะไรพวกนี้ เพราะค่าใช้จ่าย one time เหล่านี้แหละ มันเป็นตัวดึงสภาพคล่อง หรือทำให้เราต้องเป็นหนี้บัตรเครดิต หากไม่มีเงินเตรียมไว้ Support มัน

ข้อนี้ให้กลับไปทำเป็นการบ้าน จริงๆถ้ามีเวลาพอ จะให้ทำกันเลย เพราะกลับบ้านไปมีโอกาสไม่ได้ลงมือทำสูงแหละ T T
 

3. ให้จดบัญชีรายรับ-รายจ่าย หรือ บัญชีครัวเรือน
อันนี้ก็แนะนำให้จดผ่าน App กันไป เพราะมันสรุปให้ Auto สะดวกในการเอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับ งบประมาณรายรับ - รายจ่าย ที่เราวางไว้



4. นำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน ระหว่าง รายรับ-รายจ่าย ที่เกิดขึ้นจริง กับ งบประมาณ ที่ตั้งไว้ ใช้มากใช้น้อย แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร พฤติกรรมของเรา หรือ เราตั้งงบไม่ Match กับ Lifestyle ของเราไหม ?

ถ้าเราจดบัญชีรายรับ-รายจ่าย จากชีวิตเราจริงๆ เราจะสามารถนำไปตั้งงบประมาณที่ใกล้เคียงกับ Lifestyle ของเรามากๆเลยแหละ เพราะมันคือชีวิตเราจริงๆ

หรือบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะบอกกับเราได้ว่า อะไรคือสิ่งที่เป็น ของแพ้ทาง เช่น เราจ่ายให้อะไรบ่อยๆ โดยที่ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อหรือบริโภคมัน เช่น ของเล่น หรือ ของกินที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แล้วเราอยากสร้างนิสัยอะไรใหม่ให้ชีวิตเราไหม โดยการงดของเหล่านี้ เราก็เลือกได้นะ
 
 
5. สร้างพื้นฐานของ Wealth หรือ สร้างสุขภาพทางการเงินที่ดี หลักๆก็คือ

5.1 สภาพคล่องเป็นบวก
ข้อนี้ก็คือจากสมการ รายได้ - เงินออม = รายจ่าย แล้วมีเงินเหลือทุกเดือน
 
5.2 มีเงินออมสำรองเผื่อฉุกเฉิน อย่างน้อยๆก็ 6 เท่าของ ค่าใช้จ่ายรายเดือน
เงินออมที่เก็บจากข้อ 5.1 ก็เอามาออมในข้อนี้ก่อน หลักมันง่ายคือ สมมติ ค่าใช้จ่ายเรา 30,000 บาท / เดือน เงินที่ต้องเก็บไว้สำรองก็คือ 30,000 x 6 เท่า = 180,000 บาท ส่วนการเก็บก็เก็บในบัญชีที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชี Saving , Money Market Fund

5.3 วางแผนออมเงินเพื่อเกษียณ & วางแผนภาษี
เริ่มจากการคำนวณเงินที่ต้องใช้หลังเกษียณก่อน ง่ายสุดก็ดูจาก Lifestyle ของเราในปัจจุบันว่าเราใช้เงินเดือนนึงสักเท่าไหร่ พอเราเกษียณแล้วก็จะใช้ประมาณนั้นแหละ แล้วปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ เช่น ตอนนี้ใช้เดือนละ 40,000 x 12 เดือน x 20 ปี (ถ้าคิดว่าเกษียณ 60 แล้วจะอยู่ถึงอายุ 80) = 9,600,000 บาท x 2.1 (ตัวคูณเพื่อปรับอัตราเงินเฟ้อของคนที่อายุงานเหลือ 25 ปี เกษียณ) = 20,160,000 บาท

ที่นี้ก็เอามาหาดูว่าจะไปให้ถึงเป้าหมาย 20,160,000 บาท ณ วันที่เราอายุ 60 ต้องทำยังไงบ้าง หลักๆมันก็ขึ้นอยู่กับ เงินที่ออม , ระยะเวลา , อัตราผลตอบแทน ตรงนี้ใช้ App EZ Financial Calculator คำนวณเอากดใช้ง่ายๆ



แล้วเราก็คำนวณดูว่าจะไปให้ถึงต้องใช้ Investment Vehicle อะไรในการเดินทาง ก็ไม่พ้นต้องพึ่งกองทุนหุ้นแหละ ผลตอบแทนที่คาดหวังก็สัก 8-12% ควรวางแผนแบบ Worst Case Scenario ให้ชีวิตเรานะ เพราะเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไงเราก็ต้องแก่ (ถ้าไม่ม่องเท่งไปก่อนวัยอันควร)

เสร็จก็มาเลือก Product ที่จะใช้เป็น Investment Vehicle ต่อ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ , RMF , LTF เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีด้วย (ส่วนนี้ใช้ App iTax Pro ในการคำนวณว่าจะใช้อะไรลดหย่อนเท่าไหร่)

 
หากมีเงินออมในโควต้าส่วนที่เหลือจากการลดหย่อนภาษี จะมาใช้กองทุนรวมหุ้น หรือ เลือกหุ้นรายตัวด้วยตัวเองก็ไม่ว่ากัน

งานต่อไปก็จะเป็นการ Monitor ผลตอบแทนให้มันอยู่ในเส้นทางที่จะพาเราไปให้ถึงเป้าหมายนั่นแหละ


5.4 ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงิน
ส่วนนี้เป็นการเลือกทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันทรัพย์สิน ให้เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของครอบครัว โดยดูจาก...

ทุนประกันที่ควรมี = ภาระหนี้ที่มี + ทุนเพื่อตั้งหลักให้ครอบครัว + ทุนการศึกษาลูก (ถ้ามี) - ทรัพย์สิน - ทุนประกันเดิมที่มีอยู่แล้ว

แต่จะซื้อประกันก็คำนึงถึงสภาพคล่องไว้ด้วย ซื้อเยอะไปเด๋วกินแกลบอีก 555

อ้อ การมีสติ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงก็เป็นการป้องกันความเสี่ยงอีกแบบนึงนะ ^ ^


จบแล้วครับ เรื่องพวกนี้เป็น Basic ของการสร้าง Wealth เลย หากเรามีฐานที่ดี ก็จะช่วยให้เราอยู่ในโลกของการสร้าง Wealth ได้อย่างสบายใจมากขึ้น ไม่ต้องเหลียวมองหลังบ่อยๆ จะทำอะไรก็สามารถมองไปข้างหน้าได้อย่างเต็มที่เนอะ


แล้วก็มีเกมมาแนะนำให้เล่น มันชื่อว่าเกม The Life Simulator ผมเล่นบน iOS นะ สิ่งที่ผมค้นพบจากเกมนี้ และการสร้าง Based of Wealth ของชีวิต ณ ตอนนี้ ก็คือ หากเรามี Wealth ที่ดี เราจะไปต่อในชีวิตเราอย่างสบายใจเลยแหละ ชีวิตมีแต่มุ่งไปข้างหน้าเท่านั้น เพราะเรา Complete กับอดีต หรือ ข้างหลังเราหมดแล้ว เรื่องเงินก็อยู่ในแผน จัดการได้ พอจะทำอะไรมันก็ลุยได้เต็มที่ครับ


ขอบคุณที่เข้ามาอ่าน และหวังว่าจะนำคุณค่าที่ได้ไปลงมือทำในชีวิตของท่านนะครับ

No comments:

Post a Comment