Pages

Wednesday, November 6, 2013

0139 : บันทึกความเข้าใจสมการ True Alpha ของผม



บันทึกความเข้าใจสมการ True Alpha ของผม


จากที่ได้ไปนั่งเรียนเรื่อง true alpha จากพี่ต้าน และเรื่องการฝึกเทรดจากพี่โบ ในสัมมนา KZM meeting 2013 ที่ทาง dsm club จัดขึ้นนะครับ ก็เลยอยากมาสรุปความคิดที่กระจัดกระจายในเรื่องนี้ไว้ครับ ซึ่งขอบอกไว้ก่อนว่ามันอาจจะมีบางอย่างที่ผมเข้าใจผิด หรือ ตีความผิดไปก็ได้นะครับ (เรื่องเข้าใจผิดหรือตีความผิด เพราะคิดเอาเองคนเดียวนี่ โค้ชผมเน้นย้ำมากเลยตอนฝึก โค้ชเลยชอบให้เทรดเดอร์มานั่ง chat line คุยแลกเปลี่ยนไอเดียกันบ่อยๆ)


“Return = Cash + Beta + Alpha”
สมการนี้เป็นสมการหลักครับ ซึ่งพี่ต้านบอกว่า hedge fund ที่ประสบสำเร็จในโลกใช้ตัวนี้ แต่ว่าแตกต่างกันไปในรายละเอียดครับ

โดยแต่ละส่วนแบ่งออกมาให้ชัดๆก็จะเป็นดังนี้ครับ
Return ก็คือ กำไร ซึ่งจะมาจากอีก 3 ส่วนที่เหลือ คือ

Cash = เงินสด , เงินสดตรงนี้อาจจะมาจากเงินทุนของเราเอง หรืออาจจะเป็นเงินที่เรากู้มาก็ได้ ถ้าเป็นเงินทุนของเรา เราเอาฝาก หรือ สำรองไว้ในบัญชีหลักทรัพย์ , money market fund ไว้ก็จะได้ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนมา แต่ถ้าเป็นเงินกู้ เราก็จะเสียดอกเบี้ยแทน

Beta = เครื่องสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอให้กับเรา เช่น พวก KZM , DSM , Day Trade หรือ อะไรก็ได้ครับที่สร้าง cash flow ให้เรา   หรืออย่างเหล่า VI ก็มีเงินเดือนหรือรายได้จากธุรกิจเป็น beta เช่นกันครับ   ส่วนของ Beta ก็คือ skill ของ trader นั่นเองครับ

Alpha = คือส่วนของการลงทุนระยะยาว เป็น Long Term Run ครับ แต่เราต้องเข้าซื้อในช่วงที่มันมี discount ครับ ซึ่งจะทำให้เราได้เปรียบและสามารถทำให้มันกลายเป็น true alpha product ได้ง่ายในตอนที่มันกลับมามี premium   ในส่วนของ alpha จะเป็น skill ในการเลือก asset ซึ่งจะเป็น skill ของ fund manager ครับ


การทำ True alpha แรกเริ่มพี่ต้านแนะนำให้เริ่มสร้าง structure ของ port โดยแบ่งสัดส่วนเงินเข้าสมการ ดังนี้ครับ

Cash 50%   พี่ต้านย้ำว่าให้เริ่มที่ 50% เสมอ (ห้ามน้อยกว่านี้)

Beta 40%   เราจะใช้เงินส่วนนี้ run model เพื่อสร้าง cash flow เข้าพอร์ตให้ได้สม่ำเสมอครับ

Alpha 10% ในส่วนของ long term invest จะลงทีละ 10% เท่านั้นครับ หากเจ็บ port รวมก็จะเจ็บไม่มาก


ที่นี้สร้างพอร์ตตามสมการแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการรักษาสัดส่วนของ port ครับ โดยเรียกว่าการ Re-Balancing

คือการ balance ให้สัดส่วน alpha มันครบตามจำนวน 10% ที่เริ่มลงทุนไว้นั่นเองครับ


ลองมาดูตัวอย่างดีกว่า
สมมุติเรามีพอร์ต 1,000,000 บาท
เราก็จัดการแบ่งเลยครับ ตามสมการ
“Return = Cash + Beta + alpha

Cash 50% = 500,000 บาท

Beta 40% = 400,000 บาท ตรงนี้สมมุติว่าเอาไปแบ่งโซนเทรด KZM เพื่อหา Cash Flow ให้พอร์ตละกันครับ

Alpha 10% = 100,000 บาท สมมุติว่าเราเอาไปเก็บหุ้นตัวนึงซึ่งโดนทุบลงมาเหลือ 1 บาทก็ได้ (คำนวณง่ายดี 555)
เราก็จะได้หุ้นมา 100,000 หุ้นนะครับ  

โดย alpha นั่นเราจะมองมันในรูปของ NAV นะครับ อย่าง 100,000 บาท เราก็มองเป็น NAV = 100,000 point ไปเลยครับ


ที่นี้เกิดอะไรขึ้น ตลาดมันก็มีอยู่ 2 อย่าง ไม่ขึ้นก็ลงละเนอะ แต่ส่วนใหญ่จะดอยก่อนเสมอ 555

เอาเป็นว่าตลาดลงมาก็แล้วกันนะครับ ราคาหุ้น Alpha ที่เราเก็บที่ราคา 1 บาท มันก็ร่วงลงเหลือ 90 สตางค์ มูลค่ามันก็จะ drop ลง NAV จาก 100,000 ของเราก็จะเหลือเพียง 90,000 ครับ

แล้วทำไงต่อไปดี… alpha NAV loss 10,000 บาท
ก็ต้อง Re-Balancing ครับ ซึ่งก็หมายถึง ซื้อ alpha เติมให้ NAV กลับมาครบ 100,000 เหมือนเดิมครับ โดยที่เราจะใช้เงินจาก Cash Flow ที่ได้มาจาก Beta เป็นอันดับแรกครับ

ตอนนี้เรา loss อยู่ 10,000 บาท   ราคาหุ้นตอนนี้ 90 สตางค์ เงิน 10,000 ก็จะซื้อหุ้นได้ 11,111 หุ้นครับ (ตัวอย่างนะ อย่าเพิ่งสนใจ odd lot นะครับ)   ตอนนี้เราก็จะมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 111,111 หุ้น ที่มูลค่า NAV 100,000 บาทเท่าเดิม
ที่นี้ตลาดอาจจะใจร้ายลงต่อ หุ้นตกลงมาเหลือ 80 สตางค์ NAV เหลือ 88,889 บาท (คิดไม่ทันกดเครื่องคิดเลขกันเอาเองนะคร้าบ) เราก็ต้อง re-balancing alpha ให้ NAV ครบ 100,000 เหมือนเดิม โดยหา cash flow จาก beta จากซื้อ alpha เติมให้ครบ 100,000 เหมือนตะกี้ครับ จะได้หุ้นมาอีก 13,888 หุ้น

ตอนนี้โซนเราจะมีดังนี้ครับ
ราคา 1 บาท        100,000 หุ้น
ราคา 0.90 บาท    11,111 หุ้น
ราคา 0.80 บาท    13,888 หุ้น
ถ้าราคาลงต่อ เราก็ทำแบบเดิมครับ กดเครื่องคิดเลขคำนวณกันไป โดนเติมจาก Cash Flow จาก beta เท่านั้น แต่สมมุติว่า Beta ของเราปั่น Cash Flow ออกมาเติม alpha ไม่ทัน เราก็ทำยังไงดีครับ…

คำตอบก็คือ ฮีลตัวเอง ด้วยเงินสด “Cash” 50% ที่เราสำรองเป็นไม้ตายเวลาคับขันนั่นเองครับ

ที่นี้พอมันลงจนมันไม่ลงต่อแล้ว และถึงเวลามันกลับขึ้นมาเราจะทำอย่างไรดีกับโซนตะกี้
ก็จะ Re-Balancing (ขายคืนเค้าไป) ดังนี้ครับ

ราคา 0.80 บาท    13,888 หุ้น  
ที่รับมาส่วนนี้ก็ขายคืนตลาดไปในราคา 0.90 บาท รับ cash flow เข้ากระเป๋า 1,388 บาท

ราคา 0.90 บาท    11,111 หุ้น
ที่รับมาส่วนนี้ก็ขายคืนตลาดไปในราคา 1 บาท รับ cash flow เข้ากระเป๋า 1,111 บาท

ราคา 1 บาท        100,000 หุ้น
ยังไม่ต้องทำอะไร เก็บไว้ทำ true alpha ไง
ตอนนี้ในส่วนของ 100,000 หุ้นตรงนี้ หากเราเอา cash flow 1,388 + 1,111 บาท มาลดต้นทุน
ก็จะลดทุนจาก 100,000 ลงไปเหลือเพียง 97,501 บาท

ซึ่งถ้าเราลดทุนส่วน alpha 100,000 นึงตรงนี้จนเหลือ “ 0 “ ได้มันก็จะเท่ากับ true alpha นั่นเองครับ


มาต่อกัน ตอนนี้ราคาหุ้นอยู่ที่ 1 บาท
Nav ของเรากลับมา 100,000 เท่าเดิม + กะ cash flow ที่ได้มา 2,499 บาท

หากมันขึ้นไป 1.1 บาท NAV กลายเป็น 110,000 บาท
ทำยังไงดี ตรงนี้ก็อยู่ที่ว่าเราจะตัดขายเพื่อสร้าง Zone Re-balancing ไหม

อย่างผมก็จะตัดขายออกให้มันเหลือ NAV 100,000 (ขายออก 9,090 หุ้น) ได้ Cash Flow มา 10,000 บาท
ผมก็จะมีโซน รอรับคืน re-balancing อยู่ 9,090 หุ้น ที่ราคา 1 บาท

ถ้าขึ้นต่อก็ re-balancing ให้เหลือ NAV 100,000 ต่อไปครับ
เราก็จะมีโซนรอรับคืน re-balancing ไปเรื่อยๆ
ทำแบบนี้ไปมาๆจนลดต้นทุนได้สัก 50% ก็ค่อยมองหา alpha ตัวใหม่ครับ

โดย alpha ที่พี่ต้านเน้นย้ำจริงๆก็คือการเข้าลงทุนในจังหวะที่มันมี discount หรือช่วงที่ตลาด panic ครับ


จบแระ เหนื่อยเลย ไม่ได้พิมพ์อะไรยาวๆแบบนี้มานานแระ 555

3 comments:

  1. แล้วส่วน alpha ที่ re-balancing จนเหลือต้นทุน 50 % ล่ะครับ .. คือเราจะทำอย่างไรกับมันต่อ เราจะกำหนดexit strategy กับมันยังไงบ้างครับ??

    ReplyDelete
  2. การ rebalancing จนต้นทุนลดต่ำลง จะต้องทำต่อจนต้นทุน alpha ลดลงเหลือ 0 นั่นหมายถึงเกิด pure alpha จริงๆ ต่อไปก็ไปเล่นกับ product อื่นต่อ หรือ ทำ pure alpha ตัวใหม่ต่อไป ตัวเก่า ก็มาจัดการจะเก็บ cashflow จาก KZM หรือ DSM หรือ SAP ให้หุ้นเพิ่มก็จัดการง่ายขึ้น การเล่นกับ beta และ alpha ที่คุณต้าน mudley ใช้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตีความของสมการเท่านั้นเอง มันแตกต่างซึ่งรายละเอียดตามที่ผู้เขียนแจ้งไว้นั่นแหล่ะครับ เพราะกลยุทธ์ hedge fund มีมากกว่านี้อีกมากมาย

    ReplyDelete
  3. ขอบคุณสำหรับบทความครับ เข้าใจง่ายมากๆ ครับ

    ReplyDelete