Pages

Monday, January 7, 2013

0098 : KZM ฉบับจับมือทำ




วันนี้มีเพื่อนโทรมาถามเรื่องจะเริ่มต้นเทรด KZM เริ่มยังไง ?

ก็อธิบายไปเสียยาวเลย เลยมาย้อนดูว่า ตอนที่ผมเขียนถึงกอง A , B

ผมอาจจะเขียนไม่ละเอียดรึเปล่าหว่า เพราะเขียนรอบเดียวแล้ว Post เลย

ไม่ได้เขียนแล้วเกลาแบบนักเขียนมืออาชีพ คือเขียนตามที่อยากเล่าว่างั้น

วันนี้ก็จะลองมาเขียนอธิบายอีกรอบนะครับ

เอาแบบตั้งแต่แรก เหมือนจับมือเขียน ก ไก่ ข ไข่ กันเลยดีกว่า



เริ่มต้นนะครับ


1. เราต้องกำหนดก่อนว่า การเทรด KZM ครั้งนี้เนี่ย เรามีงบประมาณเท่าไหร่

สมมุติว่าเรากำหนดไว้ 100,000 บาทก็แล้วกัน


2. จากนั้นก็มาดูว่า เราจะเลือก Product อะไรในการเทรด

จะยกตัวอย่าง TDEX แล้วกันนะครับ TDEX ณ วันนี้ราคาอยู่ที่ ~ 9.70 บาท / หุ้น


3. คำนวณดูว่า เงิน 100,000 บาท ซื้อ TDEX 9.70 บาท ได้กี่ไม้ ( กำหนดไม้ละ 100 หุ้น )

100,000 / 970 = ประมาณ 100 ไม้


4. KZM แบ่งเป็น 4 กอง คือ A , B , C , D เราก็จะมีจำนวนไม้ที่ใช้เล่นในแต่ละกอง กองละ 25 ไม้


5. จากนั้นก็มาจัดโซนกอง A ว่าเราจะเทรดในกรอบเท่าไหร่

สมมุติเรากำหนดไว้ว่าจะเทรดในกรอบ 8.92 – 11.32 จะแบ่งไม้แล้วเข้าซื้อตามจุดดังนี้ครับ

Zone A1 8.92 buy 100 หุ้น

Zone A2 9.02 buy 100 หุ้น

Zone A3 9.12 buy 100 หุ้น

Zone A4 9.22 buy 100 หุ้น…

ไปปเรื่อยๆจนถึง 11.32 ก็จะได้ 25 ไม้พอดีครับ



6. จากนั้นก็จะมากำหนดจุดขายของกอง A ครับ โดยตรงนี้แล้วแต่เรากำหนดนะครับ

อย่างผมก็จะกำหนดว่าไม้ปล่อยทำกำไรกอง A เมื่อขึ้นไปจากโซน 20 ช่อง เช่น

Zone A1 เราเข้าซื้อที่ 8.92 ก็จะปล่อยออกที่ 9.12 ครับ

Zone A2 เราเข้าซื้อที่ 9.02 ก็จะปล่อยออกที่ 9.22

Zone A3 เราเข้าซื้อที่ 9.12 ก็จะปล่อยออกที่ 9.32 แบบนี้ไปเรื่อยๆครับ



และสมมุติว่าเราปล่อยโซน A3 ออกไปที่ 9.32 แล้วราคามันลงมา 9.12 อีกรอบ

ก็ให้ซื้อ A3 กลับเข้ามาไว้ในโซนเช่นเดิมครับ รอทำกำไรในรอบต่อไป



ถ้าราคาลงมาที่ 9.02 ก็รับ A2 กลับเข้ามาในโซนต่อ A1 ก็เหมือนกันครับ

นี่คือ Zone Trading Style กอง A ครับ…


7. จากนั้นเราก็จะเริ่มซื้อหุ้นเข้ากอง A ครับ โดยหากวันนี้ TDEX ราคาอยู่ที่ 9.70

เราก็จะซื้อรวบโซนทั้งหมดตั้งแต่โซนของ 9.72 ขึ้นไปถึง 11.32 เลยครับ

ซึ่งทั้งหมดก็จะเป็น 17 ไม้ครับ

ต้นทุนเราจะเป็นดังนี้ครับ

A9 – 9.70

A10 – 9.70

A11 – 9.70

A12 – 9.70

…จนถึง A25 ทุกโซนของเราจะมีต้นทุน 9.70 เท่ากันหมดครับ

การซื้อแบบนี้เค้าเรียกว่า “การซื้อรวบโซน” ครับ

ข้อดีของมันก็คือ ในโซนบนๆ เราจะได้กำไรมากครับ


8. จากนั้นก็จะเป็นของในเรื่องการเข้าซื้อ กอง B ครับ

จำไว้เลยครับว่า กอง B ให้เข้าซื้อพร้อมกอง A ในจำนวนเท่ากอง A ครับ


9. สมมุติเราซื้อ A , B มาอย่างละ 1,700 หุ้น ที่ราคา 9.70 ( ซื้อรวบ 17 ไม้ )

การเทรดกอง B ก็คือ ให้เราหาจังหวะทำกำไรภายในวันครับ

อย่างผมตั้งกฎง่ายๆเลยก็คือ จะขายกอง B เมื่อกำไร 10 ช่อง

หากซื้อมา 9.70 ผมก็จะพยายามหาจังหวะขายออกที่ 9.80 ครับ

หากขายได้ เราก็จะมีกำไร 10 สตางค์ เท่ากับว่า กอง A ของเรานั้น

มีต้นทุนเพียงแค่ 9.60 บาท เท่านั้นครับ ( นี่แหละ เหตุผลที่เรียกกอง B ว่าหน่วยรบคุ้มกัน )

แต่ถ้าขายไม่ได้ในวันก็ไม่เป็นไรนะครับ วันต่อๆไปค่อยหาจังหวะใหม่ก็ได้


10. จากนั้นก็หาจังหวะขายกอง A ออกตามโซน แล้วก็รับกลับมา (อย่าลืมซื้อพร้อมๆกอง B)

ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆเพื่อสร้าง Cash Flow ให้กับพอร์ตเราครับ


11. พอเราสร้าง Cash Flow ได้จำนวนนึง ก็นำมาขยายโซนต่อไปครับ

จำได้ไหมครับว่าเมื่อกี้เราไล่เก็บ TDEX ในราคาที่ลงท้ายด้วย 2

( 8.92 , 9.02 , 9.12 , 9.22 ไปจนถึง 11.32 )

จากนี้เราก็จะนำ Cash Flow มาขยายโซนที่ลงท้ายด้วยเลขอื่นบ้างครับ

เช่นอาจจะเก็บในโซนเลข 7 ก็ได้ ( ผมก็ทำแบบนี้ เพราะมันห่างกัน 5 ช่องพอดี )

พอได้เลข 7 ครบ ตั้งแต่ 8.87 – 11.37 ก็ไล่เก็บเลขอื่นต่อไปครับ


12. พอเราเก็บเลขท้ายได้ครบทุกเลข ตั้งแต่ 0 – 9 แล้ว

สิ่งที่เราจะทำต่อไปก็คือ เพิ่มจำนวนหุ้นในแต่ละไม้ครับ

จากเดิมที่เราซื้อโซนละ 100 หุ้น ก็เพิ่มเป็น 200 หุ้น

เป็น 300 , 400 , 500 หุ้น … เพิ่มไปเรื่อยๆครับ



แต่เราต้องคำนึงไว้อย่างนึงก็คือ เราต้องเทรดภายใต้งบประมาณที่เรามีนะครับ

อย่า Over Trade เด็ดขาดนะครับ เพราะอาจจะทำให้พอร์ตขาดสภาพคล่องได้





นี่ก็คือตัวอย่างคร่าวของการเริ่มต้นเทรดกอง A , B นะครับ

ส่วน C , D นั้นคิดว่าอ่านได้จาก Entry Basic KZM 5 น่าจะเข้าใจได้นะครับ





ขอให้ทุกท่านมีความสุขและความมั่งคั่งจากการลงทุนนะครับ : )

7 comments:

  1. อันนี้เข้าใจง่ายสุดๆแล้วครับในอินเตอร์เน็ต recommendedเลย :D

    ถ้าในความเห็นผมสำหรับKZM การซื้อรวบโซน เป็นสิ่งที่ต้องทำเสมอเลยครับ ต้องพยายามรักษาโอกาสที่จะซื้อรวบหลายๆช่วงราคาให้ได้ ไม่ง้นจะเกิดปัญหาโลกแตกครับ ยกตัวอย่าง
    มีเงิน10บาท
    พอถึงราคา 1บาท เข้าซื้อโซน 1บาท (เป้าหมายขายที่2บาทละกันเข้าใจง่าย)เหลือเงิน9บาท
    ถึงเป้า2บาท ขายทำกำไร ได้เงินรวมกับทุนแล้วเป็น11บาท ค่อยเอาไปซื้อโซน2บาท เหลือเงิน9บาทเหมือนเดิม รึเปล่า?? ไม่ใช่ครับเสียค่าคอมไปแล้ว2ต่อ สรุปยังไม่ได้กำไรแถมยังขาดทุนค่าคอม ซึ่งถ้าเก็บไว้เฉยๆแต่ย้ายโซนกลายเป็น2บาทแทน(ฺBUY AND HOLD)ก็ยังเหลือเงินอยู่9บาทเลยด้วยซ้ำ ยังไม่ขาดทุนด้วย(ฮา)

    นี่ทำให้การซื้อรวบโซนเป็นสิ่งจำเป็นครับ ไม่งั้นจะไม่เกิดกำไรได้เต็มที่ของระบบเลย (ถ้าลองคิดดู) ผมเคยสงสัยในlogicนี้อยู่สักพักในช่วงแรกๆของการเรียนรู้KZM จนมาเจอคนเข้าไปถามเรื่องนี้ในบล๊อคพี่ต้านด้วยเลยไขข้อข้องใจไปได้ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. บางทีผมก็จับชนเหมือนกันครับ ประหยัดค่าคอมฯ ฮ่าๆ
      ถ้าเราต้องขาย B แล้วอาจจะต้องซื้อ C , D ในราคาเดียวกัน
      ผมก็จับชนไป B ชน D แล้ว C ซื้อเพิ่มครับ
      ประหยัดค่าคอม เพียงแต่ว่ากระแสเงินสดที่ได้มันจะยังไม่เข้ากระเป๋าเราจริงๆ จะไปเข้าก็ตอนเราปล่อย D ได้โน่น

      แต่ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ ปล่อยหุ้นทำหน้าที่ของมันไปเนอะ อิอิ

      Delete
  2. พอคิดต่อยอดเรื่องนี้เลยได้ไอเดียว่า ถ้า เมื่อตลาดเป็นDowntrendจริงๆ เราสามารถใช้สัญญาณทางเทคนิค (ที่ปกติใช้กำหนดจุดเข้าออกของกองC) มาใช้กำหนดจุดเข้าซื้อของกองA ได้ครับ เพื่อจะminimizeต้นทุนให้น้อยที่สุด แต่ก็ต้องเป็นdowntrendจริงๆนะครับไม่ใช่sidewayนิดหน่อยคงไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะการกะเก็งรอบคงยากและผิดจุดประสงค์ของKZMครับ อันนี้เป็นความคิดเห็น

    แต่ถ้าเป็นสินค้าที่เราสามารถเล่นทั้งทาง long และ short ได้ จะไม่ใช้ก็คงไม่เป็นไรครับ เพราะเราได้กำไรสองทางอยู่แล้ว

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณไอเดียมากครับ

      ไอเดียคุณ Tawan หมายถึงตอนเจอ Down Trend นี่ให้มันลงไปสุดก่อน แล้วหากมี Buy Signal จากกอง C มาค่อยเอา A ไปซื้อรวบใช่ไหมครับ

      Delete
    2. ใช่ครับ ผมพึ่งปิ๊งขึ้นมาเมื่อวานว่าจริงๆถ้าอยากให้ง่ายกว่านั้น และเป็นการไม่พยายามไปกะเก็งอะไรเลย ซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของกองA ที่ผมว่ามือใหม่ก็ทำได้สบายๆ ใช้เป็นการปรับวิธีคิดก็ได้ครับ อุปกรณ์ที่เราต้องใช้อย่างเดียวเลยคือกราฟ (หาดูฟรีได้จากsiamchart.com) และความเข้าใจเพียงว่าถ้าuptrendคือเอียงขึ้น sidewayคือ แนวนอน downtrend คือเอียงลง ให้เราทำอย่างงี้
      เริ่มแรกซื้อรวบตามโซนที่กำหนดไว้ก่อน
      ีขาขึ้น ขายให้ช้าลง (กำไรคำใหญ่ขึ้น) เข้าซื้อคืนทุกระดับราคา
      sideway ซื้อและขาย ตามระดับราคาที่กำหนด
      ขาลง ซื้อคืนให้ช้าลง (สร้างโอกาสในการรวบโซน) ขายทุกระดับราคา
      คิดว่าน่าจะเป็นวิธีการจัดการกองAที่ดีสำหรับสภาพตลาดทุกแบบครับผม

      (พึ่งจะคิดได้ แต่ยังไม่ได้โอกาสทดลองซะที เพราะยังไม่เจอขาลงจังๆเลยครับตั้งแต่เริ่มเล่น555)

      Delete
  3. 9. สมมุติเราซื้อ A , B มาอย่างละ 1,700 หุ้น ที่ราคา 9.70 ( ซื้อรวบ 17 ไม้ )

    การเทรดกอง B ก็คือ ให้เราหาจังหวะทำกำไรภายในวันครับ

    อย่างผมตั้งกฎง่ายๆเลยก็คือ จะขายกอง B เมื่อกำไร 10 ช่อง

    หากซื้อมา 9.70 ผมก็จะพยายามหาจังหวะขายออกที่ 9.80 ครับ

    หากขายได้ เราก็จะมีกำไร 10 สตางค์ เท่ากับว่า กอง A ของเรานั้น

    มีต้นทุนเพียงแค่ 9.60 บาท เท่านั้นครับ ( นี่แหละ เหตุผลที่เรียกกอง B ว่าหน่วยรบคุ้มกัน )


    อยากถามวิธีขายกอง B ครับ ว่าตอนเราซื้อรวบโซนพร้อมกอง A จากตัวอย่างคือกองละ 1700 หุ้น หากราคากอง B ขึ้นมาถึงเป้าราคาที่จะขายในวัน เราจะขายทั้ง 1700 หุ้นเลยไหมครับ

    ReplyDelete
  4. สมมุติ ราคาหุ้นตัวๆหนึ่งตั้งแต่เปิดตลาดมาจนถึงวันนี้ มีราคาตั้งแต่ 10-41 บาท
    ผมมีเงินอยู่ แสนนึง
    ผมควรจะแบ่งเงินลงทุนยังไงครับ

    ReplyDelete