Pages

Friday, May 1, 2020

0885 : Re-Balancing Process 101


สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดถึงการ Re-Balancing นะครับ
เพราะช่วงนี้มีหลายๆคนส่งคำถามหลังไมค์เข้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้
เลยขอมาเขียนตอบตรงนี้ทีเดียวเลยแล้วกันนะครับ
 

 

การ Re-Balancing คือการปรับพอร์ตของเราให้อยู่ในสัดส่วนที่เราวางแผนไว้
เช่นเราอาจจะวางแผนว่าจะถือครอง เงินสด 50% และ Asset A 50%
สมมติที่ทุน 1,000,000 บาท แบ่งเป็น
1. เงินสด 500,000 บาท
2. Asset A จำนวน 50,000 Unit ที่ราคา 10 บาท / Unit มูลค่ารวมเท่ากับ 500,000 บาท ละกัน)

เมื่อราคาของ Asset A มันขยับไปทางใดทางหนึ่ง ทำให้มูลค่าเปลี่ยนไป
สมมติ หากราคา Asset A วิ่งขึ้นเป็น 11 บาท มูลค่าเพิ่มเป็น 550,000 บาท
พอร์ตรวมของเราจะกลายเป็น 1,050,000 บาท (ตีเป็น 100% ใหม่อีกรอบ)
จาก เงินสด 500,000 บาท (47.62%) Asset A 550,000 บาท (52.38%)

หากเราจะ Re-Balancing กลับไปที่ เงินสด 50% + Asset A 50% อีกรอบนั้น
ก็ต้องปรับพอร์ตด้วยการขาย Asset A ออกให้ได้เงิน 25,000 บาท
(ขายที่ราคา 11 บาท มูลค่า 25,000 บาท ก็เท่ากับประมาณ 2,273 Unit)
แล้วเราก็จะมี เงินสด 525,000 บาท (50%) + Asset A 525,000 บาท


ทีนี้หาก Asset A โดนทุบบ้าง สมมติ ราคาลงจาก 11 บาท เหลือ 9.43
มูลค่า Asset A ในพอร์ตเรา ลดลงจาก 525,000 บาท เหลือ 450,000 บาทล่ะ จะทำอย่างไร
ก็มาดูที่สัดส่วนของ เงินสด กะ Asset A ก่อนว่าเป็นอย่างไร
เงินสด 525,000 บาท = 53.85%
Asset A มูลค่า 450,000 บาท = 46.15%
มูลค่าพอร์ตรวม = 975,000 บาท

การจะ Re-Balancing ก็จะปรับโดยการเอาเงินสดไปซื้อ Asset A เติมเข้าไปให้กลายเป็น 50 : 50
พอร์ตรวม 975,000 บาท ที่ 50 : 50 จะเท่ากับต้องมีเงินสด : Asset A อย่างละ 487,500 บาท
เพราะงั้นเราจะต้องแบ่งเงินสดไปซื้อ Asset A จำนวน 37,500 บาท
(ปรับจาก 525,000 - 487,500 = 37,500 บาท)
ที่ราคา Asset A 9.43 บาท / Unit เงิน 37,500 บาท จะซื้อได้ราว 3,976 Unit
พอร์ตเราก็จะกลายเป็น เงินสด 487,500 บาท
Asset A 51,703 Unit x ราคา 9.43 บาท มูลค่าจะเท่ากับ 487,559 บาท (เกินไป 59 บาท 555)
โดยที่เราจะมี Unit เพิ่มจากจุดเริ่มต้น 1,703 Unit (แรกสุดเรา Start ที่ 50,000 Unit)

เมื่อราคา Asset A มัน Move ไปทางไหน เราก็คอยปรับพอร์ตตามไปเรื่อยๆ
ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราสามารถวางแผนล่วงหน้าได้
ราคาปรับตัวขึ้น เราจะทำอะไร
ราคาโดนทุบ เราจะรับมืออย่างไร


จังหวะการปรับพอร์ต
ส่วนนี้เราอาจจะกำหนดจากการเพิ่มลดของมูลค่า Asset ก็ได้
เช่น มูลค่าบวก 5% , 10% , 20% เราจะปรับพอร์ตทีนึง
หรือ อาจจะเอาเครื่องมือทางเทคนิคคอล มาใช้หาจังหวะในการ Re-Balancing ก็ไม่มีใครว่า
การใช้ EMA , MACD , RSI , STO ใน Time Frame ต่างๆ

สมมติว่า เราวางแผนจะ Re-Balancing ตาม EMA
ถ้า EMA มัน Cross กับ Price ที
เราก็มาดูสัดส่วนพอร์ตเราทีนึงว่าเราจะต้องปรับเงินสดกับ Asset อย่างไร เท่าไหร่บ้าง


สิ่งสำคัญของการ Re-Balancing คือ
1. ต้องเลือก Asset ให้ดี เพราะเราจะอยู่กับมันนาน
2. มีวินัย ทำตามแผน ไม่โลภ หรือ กลัว จนไม่กล้า Action ตามแผนที่วางไว้
3. ทำบัญชีให้ดี ไม่งั้น งงตายยย
4. ออกแบบแผนการ Re-Balancing ให้เหมาะสมกับกับสิ่งที่เรามี  (หน้าตัก / เวลาชีวิต / Life Style / ความรู้ / พฤติกรรมของ Product ที่ลงทุน) เช่น หากไม่ค่อยมีเวลาก็อย่าไปพยายาม Re-Balancing ให้มันถี่มากนัก หรือ ตั้งเป้า Re-Balancing ไว้ไกลเว่อร์ๆ จนไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมของตัว Product ไรงี้


จริงๆมันมีการ Re-Balancing อีกหลายแบบนะครับ
ที่เขียนไปข้างบนคือ สะสม Asset เพิ่ม (เพิ่มจำนวน Unit)

ส่วนแบบอื่นๆก็เช่น
- ไม่เพิ่ม Unit แต่สร้าง Free Cash Flow
- Re-Balancing แบบกำหนดสัดส่วน หรือ หลายๆ Asset เช่น
* เงินสด 40 : Asset 60
** เงินสด 30 : Asset A 20 : Asset B 20 : Asset C 20
*** ฯลฯ มันแตกไปได้หลายอย่างมาก แล้วแต่เราออกแบบครับ 555
แต่ที่สำคัญ คือ เราต้องสร้างระบบบัญชีหลังบ้านให้ดี และวางแผนให้ชัดแค่นั้นเอง
พวกแตกแขนงออกไปแบบอื่นๆนี่ไว้โอกาสหน้าจะมาเขียนต่อครับ


ส่วนวันนี้ลาไปก่อนครับ โอกาสหน้าพบกันใหม่
ขอให้ทุกท่านอยู่รอดปลอดภัยในช่วงวิกฤติ Covid-19 นี้
ทั้งด้านสุขภาพและการเงินในกระเป๋านะคร้าบบบ


ขอบคุณภาพประกอบจาก People photo created by freepik - www.freepik.com ครับ

No comments:

Post a Comment