Pages

Monday, December 28, 2020

0894 : Learn from your loss

 Learn from your loss

.

S : ไม่อยากขาดทุน แต่ก็ยังขาดทุนซ้ำๆอยู่ใช่ไหมครับ ?

.

.

P : การขาดทุนซ้ำๆ จากเหตุผลเดิมๆ พฤติกรรมเดิมๆ เป็นเพราะเรายังไม่ได้เรียนรู้ว่าทำไมเราถึงขาดทุน ทำไมเราถึงพลาด เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ความคิด พฤติกรรม ในการเทรดของเรา ก็ตอบสนองต่อตลาดเหมือนดั่งเช่นครั้งก่อนๆ จริงไหมครับ ?

.

.

I : หากเราขาดทุนซ้ำๆนอกจากเงินในพอร์ตที่จะลดน้อยถอยลงไป อารมณ์ด้านลบต่างๆ เช่น ความโกรธ ความกลัว ก็จะสะสมในใจเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนวันนึงมันอาจจะระเบิดออกมา การอาจจะตัดสินใจทำอะไรเสี่ยงๆ แบบว่า All in or Nothing ไม่รวย ก็ซวยไปเลยได้ง่ายๆครับ และเราก็คงจะรู้สึกแย่กับตัวเองมากๆเลยใช่ไหมครับ ?

.

.

N : ทุกครั้งที่เราขาดทุน จะมีบทเรียนอยู่เสมอ มันเหมือนบททดสอบที่เข้ามาทดสอบเราเรื่อยๆ หากเรายังขาดทุนซ้ำๆ ด้วยพฤติกรรมการเทรดแบบเดิม เท่ากับว่าเรายังสอบไม่ผ่าน มันก็จะวนกลับมาทดสอบเราใหม่ในภายหลังอยู่ดี จนกว่าเราจะได้เรียนรู้ ค้นพบบทเรียนของเราเอง ทำให้เราผ่านมันไปได้ จากนั้นเราก็จะไปเจอกับบททดสอบใหม่ๆต่อไป

.

ผมเรียกมันว่า “การล้มไปข้างหน้า” ทุกครั้งที่เราขาดทุน หรืออาจจะทำอะไรผิดพลาด (เช่น เคาะซื้อ-เคาะขาย โดยใส่ปริมาณ Asset ผิด หรือ ใส่ราคาผิด ทำบัญชีผิดพลาด อะไรพวกนี้ แม้ว่าจะไม่ขาดทุน แต่ก็ถือเป็นความเสี่ยงเช่นกันหากมันเกิดขึ้นซ้ำๆในอนาคต แล้วเราบริหารเงินที่มากขึ้น) เราลองย้อนดูตัวเองว่า เราได้ค้นพบบทเรียนอะไรบ้างจากเหตุการณ์นั้น แล้วเราจะไม่ผิดพลาดซ้ำอีก 

.

กระบวนการ ล้มไปข้างหน้า ก็มีดังนี้ครับ

.

1 กลับมา Review ดูว่า การขาดทุน หรือ ข้อผิดพลาดนั้น มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง อธิบายมันออกมาให้ละเอียด เช่น ผมเคยไปเทรดหุ้นตัวนึง ที่ราคาร่วงลงมากว่า 90% 

.

ผมก็ลองมาไล่ดูว่า มันเกิดอะไรขึ้นตั้งแต่แรกบ้าง แล้วผมก็พบว่า ผมเข้าไปเทรดเพราะแค่ว่ามันมี Volatility ที่ดี แต่ไม่ได้เข้าไปเจาะเรื่องพื้นฐานของบริษัท ว่ามันมีผลการดำเนินงานที่ถดถอยลงทุกปี พอเทรดไปเทรดมาราคาร่วงลงเรื่อยๆ ก็ไม่ได้หยุดเทรด หรือ Switch ไปตัวอื่น แต่กลับทำโซนล่างเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆ มันก็เหมือนถัวเฉลี่ยในหุ้นขาลงนั่นเองครับ 

.

สุดท้ายพอราคาร่วงลงไปแทบไม่เหลืออะไรเลย ยังดีกว่ามีกระแสเงินสดที่ Feed ออกมาจากการเทรดได้ราวๆ 60% ของเงินทุน สรุปก็เจ็บตัวไปพอควรเลย 

.

2 ถามตัวเองดูว่า จากเหตุการณ์นั้น เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ลองไล่ออกมาเป็นข้อๆดูครับ มันจะเป็นบทเรียนที่เราค้นพบเอง แล้วมันมาจากประสบการณ์ของเราจริงๆ เรียกได้ว่าจำได้ไม่มีลืม แตกต่างจากความรู้ที่เราอ่านจากในหนังสืออย่างมากเลยครับ 

.

3 จะทำอะไรต่อไป เอาบทเรียนที่ได้ไปพัฒนาการเทรดได้อย่างไร พอเราได้ค้นพบบทเรียนของเราเองแล้ว การจะไปต่อก็คือการเอาไปปรับใช้ให้เข้ากับแนวทางการเทรดของเรา ให้มัน Work มากขึ้นนั่นเองครับ

.

ถ้าจากที่ผมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในข้อข้างบน ผมมีสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่เอาไปพัฒนาการเทรดของผมเอง ก็คือ 

.

- เลือก Asset ให้ดี เทรด ETFs หรือ ไม่งั้นก็ต้องเลือกบริษัทที่ดี ในอุตสาหกรรมที่ดี และทำการบ้านพื้นฐานบริษัทก่อนทุกครั้ง

.

- หากจะเสี่ยงไปเทรดหุ้น ให้แบ่งกำไรไปเทรด อย่าเอาทุนไปเสี่ยง หากขาดทุนจะเป็นแค่ขาดทุนกำไร และเงินทุนหลักของเรายังอยู่ครบ 

.

- วาง Money Management ให้จบก่อนเทรด ไม่เพิ่มเงิน เพิ่มโซนเข้าไปทีหลัง เป็นการ Limit Loss

.

- หยุดให้เป็น หากเจอ Drawdown ถึงจุดที่ต้องหยุด ก็ให้หยุดเทรด

.

- มีแผนสำรอง หากเราไปเทรดในหุ้นที่ไร้อนาคต แล้วถึงจุดหยุด ก็หาตัวที่จะ Switch เพื่อ Cover Drawdown ให้เจอ

.

- หุ้นตัวไหนดูเสี่ยงสูง ช่วงที่จังหวะมันวิ่งขึ้นแรงๆ แล้วพอร์ตมีกำไร ให้ตัดขายทำหุ้นฟรีทิ้งไว้ในพอร์ตบ้าง แล้วชักทุนคืนให้ไว 

.

- ยอมรับในความผิดพลาด จะรู้สึกผิดบ้างก็ไม่เป็นไร และอย่าเสียใจให้นานนัก ชีวิตต้อง Move On

.

ก็ประมาณนี้ครับ เรียกได้ว่าจำได้แม่นเลยแหละ ช่วงหลังมาก็เลยไม่มีเจ็บตัวจากหุ้นเท่าไหร่ เหมือนเราสอบผ่านไปแล้ว ทีนี้เราก็จะไปเจอโจทย์ใหม่ๆแทนครับ

.

ทั้ง 3 Steps นี้ ทั้ง การ Review อธิบายข้อผิดพลาดออกมาให้ละเอียด , การที่เราลองถามตัวเองว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง และ เราจะเอาบทเรียนที่ค้นพบไปใช้พัฒนาการเทรดได้อย่างไร คือข้อแนะนำจากผมนะครับ 

.

คุณคงไม่ปฏิเสธที่จะนำมันไปใช้เพื่อค้นหาบทเรียนเฉพาะตัวของคุณเองที่ได้จากความผิดพลาดตั้งแต่วันนี้ใช่ไหมครับ ?

No comments:

Post a Comment