Pages

Saturday, August 16, 2014

0281 : พื้นฐานของพื้นฐาน



พื้นฐานของพื้นฐาน


อยากกลับมาคุยเรื่องนี้กับตัวเองอีกที จริงๆการเทรดมันก็เหมือน Poker ถ้าภาษา poker ก็จะมี skill บนโต๊ะ กะ Skill นอกโต๊ะ (เช่นพวกการจัดการ Bankroll ต่างๆ)

อย่าง Trader ก็น่าจะมี skill ที่เราใช้ในจอ กะ นอกจอ เหมือนกัน

ที่สำคัญอย่างนึง ซึ่งอาจจะทำให้เราลืมตัวก็จะมีเรื่องการบริหารเงินส่วนตัวของเรา เช่นพวกค่าใช้จ่ายรายเดือน เงินออม เงินสำรองต่างๆ


ผมว่าวินัยตรงนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเราไม่ได้มี Port ใหญ่มากๆๆ แบบที่ว่าเอาไปดอยหุ้นสักร้อยตัวก็ไม่เดือดร้อน


ที่เคยเจอมันจะมีฟีลลิ่งของการเทรดช่วงที่ performance ดีๆ ได้ตังค์เยอะๆ ช่วงนั้นจะป๋ามาก ใช้จ่ายมือเติบหน่อย ประมาณว่ารู้สึกว่าเทรดยังไงก็ได้ตังค์ แต่พอเวลาผ่านไป Down Swing มาเยือนล่ะแม่งเอ้ย...


เพราะงั้นวินัยทางการเงินของเราก็สำคัญมากๆ เป็นพื้นฐานของพื้นฐานการเทรดเลยทีเดียว

ให้รางวัลตัวเองก็ได้ แต่ก็ไม่บ่อยเกินไป ให้พอประมาณดีกว่า

พอเทรดมือขึ้นก็อย่าเพิ่งก่อหนี้เลว เพราะ มันจะทำให้ชีวิตลำบากหากเจอช่วง down swing (อะไรก็ฝืดไปหมด)



แต่สิ่งเหล่านี้มันก็แก้ได้ ถ้าเราวางแผนการเงินไว้ดีๆ


เอาง่ายๆก็เอาอย่างพี่หนุ่ม Money Coach สอนก็แล้วกัน แบ่งเงินออมเป็นตะกร้าๆ


อย่างของผม แบ่งหลายใบหน่อย


1. เงินสำรอง 3-12 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เอาชัวร์ๆก็ 12 เท่า เก็บไว้เถอะ มันช่วยเราในยามลำบากได้จริงๆ บางจังหวะถ้าเรามีมันเราจะไม่รู้สึกว่าเราลำบากหรอกนะ แต่ลองนึงทุกครั้งที่ไปถอนเงินก้อนนี้มาใช้ ลองนึกว่าหากเราไม่มีมันเราจะทำยังไง โอ้ จะซึ้งถึงคุณค่าของมันเลยแหละ


2. เงินป้องกันความเสี่ยง อันนี้ออมไว้ซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันรถ ประกันแม่งมันไปตามที่เราอยากจะประกันเลยครับ แล้วก็ออมให้ cover เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายแต่ละปีก็พอ

หลักคิดง่ายๆ ก็ จำนวนเงินคุ้มครองจากประกันรวมกันควรไม่น้อยกว่า 60 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน ถ้าครอบครัวใช้จ่ายเดือนละ 50,000 ก็ควรจะมีกรมธรรม์คุ้มครองอย่างน้อย 3,000,000 บาท เอาไว้ให้คนข้างหลังเรา


3. เงินลงทุน อันนี้จริงๆมันก็คือ Port ของเรานั่นเอง ไม่ต้องพูดถึงละเนอะ 555


4. เงินออมเพื่อการท่องเที่ยว อยากไปไหนก็เก็บเงินใส่กองนี้ แล้วก็ไปท่องโลกซะ อย่ารอที่จะไปตอนแก่


5. เงินออมเพื่อการศึกษา อันนี้ผมมีไว้เพื่อซื้อหนังสือ จ่ายค่าสัมมนาต่างๆ บางอันมันก็ถูก บางคอร์สก็แพง แต่เราอยากเรียนรู้ ก็มีเงินส่วนนี้ไว้จ่ายเพื่อหาความรู้ครับ


6. "............................" อันนี้เว้นเอาไว้ให้ แล้วแต่เราจะออกแบบเลยครับ จะเพิ่มอีกกี่กองก็ตามสะดวก จะเก็บไว้สำหรับทำความฝันอื่นๆของเรายังไงก็ตั้งเป้าหมาย แล้วก็ลงมือออมได้เลย



จะเห็นว่าการวางแผนการเงินของเราจะออกแบบให้ Free Style ยังไงก็ได้

สิ่งสำคัญอยู่ที่การร้จักตัวเราเอง

ว่าเราต้องการอะไร
วางแผนไปคว้ามันยังไง
เราลงมือทำมันไหม
และ มีวินัย เอาจริงเอาจังกับมันหรือเปล่าครับ

^ ^

No comments:

Post a Comment